การตรวจสอบ Address ที่เกิดขึ้นจาก Remote IO

การใช้งาน ET200SP โดยที่เราเลือกหัวเป็นแบบ Interface Module (IM) นั้น เป็นการเลือกใช้งาน ET200SP ให้เป็นแบบ Remote I/O (หรือ Distributed I/O) ดังนั้นตัวมันเองจะไม่สามารถควบคุม I/O ได้ จึงจำเป็นต้องมี PLC ในระบบมาควบคุมด้วย ซึ่งเราสามารถเลือก CPU เป็น S7-1200, ET200SP CPU หรือใช้ S7-1500 มาเป็นหัว CPU ในระบบก็ได้

ในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเราเพิ่ม ET200SP IM เป็น Remote I/O แล้ว จะสามารถใช้งาน address ของ Remote IO บน PLC ได้อย่างไร ซึ่งบทความนี้จะไม่ได้แสดงการตั้งค่า PLC กับ Remote IO ทั้งหมด เพียงแต่ต้องการแสดงให้เห็นวิธีการใช้งาน IO บน Remote IO เป็นหลักเท่านั้น  การตั้งค่าที่สมบูรณ์สามารถดูจากบทความการตั้งค่า PLC กับ Remote IO ได้

1. สมมติว่ากรณีนี้เรามี PLC อยู่แล้วซึ่งเป็น S7-1200 ให้เราลาก IM ของ ET200SP มาวางใน Network view ซึ่ง IM ของ ET200SP จะอยู่ในหัวข้อ Distributed I/O -> ET200SP -> PROFINET -> IM155-6 PN xx
ET200SP_RemoteIO_01.png

2. Double click ที่ IM เพื่อเข้าไปหน้า Device view เพื่อทำการตั้งค่าเพื่อวาง Input และ Output module มาใส่ใน IM
ET200SP_RemoteIO_02.png

3. เลือก Module ที่เราต้องการมาวางไว้ตาม slot ที่ต้องการ กรณีนี้เราจะวาง DI 8x24VDC กับ DQ 8x24VDC เพื่อทดสอบ
ET200SP_RemoteIO_03.png

4. กลับมาที่หน้า Network view ให้เราคลิกที่ Not assigned แล้วเลือก PLC ที่เราต้องการให้เป็นตัวควบคุมหลักของ Remote I/O ตัวนี้
ET200SP_RemoteIO_04.png

ET200SP_RemoteIO_05.png

5. จริงๆเพียงเท่านี้ ตัว IM ของ ET200SP ก็จะถือเป็น Remote I/O ของ S7-1200 เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า address ใน Remote I/O เป็น address อะไร  วิธีการนั้นให้เรากลับไปที่ Device view ของตัว Remote I/O แล้วไปเลือก Module แต่ละตัว จากนั้นไปดูที่ IO tags เราก็จะเห็น address ของ Module แต่ละตัว ซึ่ง PLC สามารถสั่งใช้งาน address เหล่านี้ได้เลย เราสามารถตั้งชื่อ tag จากส่วนนี้ได้เลยเช่นกันดังรูป
ET200SP_RemoteIO_06.png

IO tags ของ DI module เริ่มที่ %I2.0 ถึง %I2.7

ET200SP_RemoteIO_07.png
IO tags ของ DQ module เริ่มที่ %Q2.0 ถึง %Q2.7

6. จากนั้นเราก็สามารถทำโปรแกรมที่ PLC เพื่อสั่งงาน address เหล่านี้ผ่านทาง Remote I/O ได้ทันที เสมือนว่า Remote I/O เหล่านี้เป็น I/O ของตัว PLC เอง
ET200SP_RemoteIO_08.png

จะเห็นได้ว่าการนำ ET200SP IM มาใช้เป็น Remote I/O นั้นมีการตั้งค่าที่ง่ายมาก การเชื่อมต่อระหว่าง PLC กับแต่ละ station ของ Remote I/O ก็เพียงแค่ใช้สาย Profinet ธรรมดาเท่านั้น (ซึ่งก็คือสาย LAN) ทำให้ระยะทางระหว่างแต่ละ station ในทางทฤษฎีแล้วสามารถห่างกันได้ถึง 100 เมตร ซึ่งก็คือสเปคของสายแลนนั่นเอง

บทความนี้ไม่ได้แสดงการตั้งค่า Device name ให้กับตัว Remote IO เพราะต้องการแสดงให้เห็นการใช้ Address ของ Remote IO กับ PLC เป็นหลัก การตั้งค่าที่สมบูรณ์สามารถดูจากบทความการตั้งค่า PLC กับ Remote IO

Leave a comment